มาเลเซีย

พิชิตยอดเขาคินาบาลู มาเลเชีย Mount Kinabalu ตอนที่2


หลังจากตอนแรก “พิชิตยอดเขาคินาบาลู มาเลเชีย Mount Kinabalu ตอนที่1” ผมได้พาทุกท่านมาถึงที่พัก Laban Rata Resthouse ที่ความสูง 3200 เมตรแล้วใช้เวลาเดินเท้าเกือบ 7 ชั่วโมงพวกเราก็รีบรับประทานอาหารแล้วก็รีบเข้านอนแต่หัวค่ำเพราะพวกเรามีภารกิจต้องตื่นตอนตี 3 ช่วงกลางอากาศหนาวเย็นมากมีลมพัดลมเวลา สำหรับคนที่คิดมาจากคินาบาลูผมแนะนำให้เตรียมยา “แก้อาการแพ้ความสูง” หรือ อาการป่วยบนที่สูง หรือเรียกภาษาอังกฤษว่า Acute Mountain Sickness (AMS) สำหรับเกิดอาการปวดหัวตุบๆและปัสสาวะบ่อย พวกเราไปครั้งนี้ไม่ได้เตรียมยาพวกนี้ไปเลย มีแต่ยาพารา กับ ยาคลายกล้ามเนื้อ

อาการป่วยบนที่สูง หรือ Acute Mountain Sickness (AMS)

ตามปกติเมื่อร่างกายอยู่ในระดับความสูงมากกว่า 2,500 เมตรขึ้นไป ร่างกายจะมีกลไกอัตโนมัติในการปรับตัวเพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนในเลือด ทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้

– หายใจเร็ว หายใจลึกกว่าปกติ หรือทั้งสองอย่าง
– หายใจสั้นถี่ และบางครั้งอาจมีเสียงดัง
– ตื่นกลางดึกบ่อยกว่าปกติ
– ปัสสาวะบ่อย

# ลักษณะอาการสำคัญของผู้ป่วย Acute Mountain Sickness (AMS) # ได้แก่

– เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
– อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
– มึนงง และมีอาการปวดศีรษะเล็กน้อย ถึงปานกลาง
– นอนหลับยาก

ติดตามชมรีวิวทั้ง 3 ตอนของทริปนี้ :

พิชิตยอดเขาคินาบาลู มาเลเชีย Mount Kinabalu ตอนที่1

พิชิตยอดเขาคินาบาลู มาเลเชีย Mount Kinabalu ตอนที่2

พิชิตยอดเขาคินาบาลู มาเลเชีย Mount Kinabalu ตอนที่3

พวกเราตื่นนอนและลงมารับประทานอาหารก่อนออกเดินทางช่วงเช้าคนเยอะมากต้องแย่งกันตักอาหารอาหารหมดเร็วมากพนักงานก็ทำอาหารไม่ทันด้วย สำหรับผมเตรียมมาม่าจากไทยไปด้วยซดน้ำมาม่าร้อนกับอากาศที่หนาวเย็น หุหุ

บรรยากาศยามเช้ามืดของห้องอาหารคนเยอะมากเพราะทุกคนต้องตื่นพร้อมกันและมีจุดมุ่งหมายเดียวกันก็คือ “ยอดเขาคินาบาลู”

หลังจากทานอาหารกันเสร็จเรียบร้อยแล้วได้เวลาเตรียมพร้อมเดินทาง อุปกรณ์ที่สำคัญในการเดินก็คือ “ไฟฉาย” ควรเตรียมไฟฉายไปด้วยเพราะทางมันมืดมาก ไกด์ลี (Lee) ก็จะอธิบายเส้นทางการเดินทาง

เส้นทางการเดินจะเป็นการเดินขึ้นสู่ที่สูงจะมีขั้นบันได้สลับกับทางที่เป็นหินระหว่างทาง และจะมีอยู่ช่วงหนึ่งที่เราต้องไต่เชือกไต่ขึ้นบนเขาต้องใช้ความระมัดระวังพอสมควรเพราะด้านล่างจะเป็นเหวหุบเขาตอนขาขึ้นไม่น่ากลัวเท่าไรเพราะมันมืดจะมองไม่เห็นแต่ตอนขากลับสิไม่อยากจะคิดเลยว่ามันจะขนาดไหนไว้ดูรูปหลังๆจะมีภาพให้ดู

เราเดินกันน่าจะประมาณ 2 ชั่วโมงกว่าๆเห็นจะได้พวกเราเดินช้ากว่ากลุ่มอื่นมาก จากรูปที่เห็นเป็นจุด Check Point ทุกคนต้องผ่านจุดนี้เพื่อเช็คชื่อโดยใช้ป้ายแขวนคอเป็นตัวเช็คชื่อ

แสงเช้าเริ่มมาแล้วเราจะเห็นสภาพของวิวทิวทัศน์ด้านล่างว่ามันทั้งสวยงามและน่ากลัวเลยทีเดียวถ้าตกลงไป 555

เห็นแล้วไม่อยากจะเชื่อเลยว่าผมขึ้นมาได้สูงขนาดนี้

เห็นเฆมเป็นก้อนๆเลยไม่น่าเชื่อว่าผมอยู่เหนือเฆม อิอิ สังเกตุป้ายเขียนว่า “ห้ามวิ่ง” โอ๊ยพ่อคุณใครจะกล้าวิ่งล่ะครับขนาดเดินยังเดินไม่ไหวเลย

ทางขึ้นจะมีเชือกไว้ไต่ตลอดทาง

บรรยากาศระหว่างทางสวยจริงๆและไกลมาก สังเกตุเห็นคนตัวเล็กนิดเดียว

ไอ้หินแหลมๆอันนี้ที่ทำให้ต้องปีนขึ้นเขานับหลายชั่วโมงเพื่อมาถ่ายมัน…ยอดแหลมๆที่เห็นคือ “South Peak” ครับ มีความสูง3,933 เมตร

หินแหลมๆที่จุด “South Peak” เป็นสัญลักษณ์ของคินาบาลู

ก็อย่างที่เคยบอกเมื่อตอนแรกว่าผมเดินได้แค่ จุดSouth Peak ไม่สามารถเดินต่อไปยังจุดสูงสุดที่เรียกว่า “Low Peak” ได้กับอีกระยะทางประมาณ 700 เมตร ดูเหมือนว่าใกล้แต่คุณลองมาเป็นผมตอนนั้นขอบอกว่าเหนื่อยสุดๆ ผมก็ขอหยุดแค่ South Peak ก็พอสำหรับผมแล้ว

ได้เวลาเดินกลับไปยังที่พักแล้วระหว่างจะเห็นหุบเขาด้านล่างตลอดทำให้น่ากลัวบ้างไม่เหมือนตอนแรกที่มามองไม่เห็นอะไรเลยเลยไม่น่ากลัว

ขาลงช่วงนี้ต้องค่อยๆไต่เชือกลงมา ส่วนผมหันหลังไม่กล้ามองวิวข้างล่างเลย อิอิ

เรามาถึงที่พักเราต้องรีบเก็บสัมภาระ Checkout และรับประทานอาหารเที่ยงให้เรียบร้อยจากนั้นก็เตรียมตัวเดินเท้าลงจากเขา อีก 8 ชั่วโมงเพื่อกลับลงไปด้านล่าง

พวกเราก็เป็นกลุ่มหลังสุดอีกเช่นเคยที่เดินลงจากเขา อิอิ ช้าตลอด

ระหว่างทางลงพวกเราก็จะเจอกลุ่มที่เดินสวนขึ้นมาระหว่างทางอยู่ตลอด ทักทายกันสนุกสนานดี

หลังจากที่พวกเราเดินทางมาถึง Timpohon Gate รถจากบริษัททัวร์ก็มารับพวกเพื่อเดินทางเข้าไปยังตัวเมืองโคตาคินาบาลูเราได้จองโรงแรม “Kinabalu Backpackers Lodge” ไว้ แล้วไว้เจอกันทริปคินาบาลู ตอนที่ 3 ตอนจบของทริปนี้แล้วน่ะครับ

ติดตามชม “พิชิตยอดเขาคินาบาลู มาเลเชีย Mount Kinabalu ตอนที่3” คลิ้กเลยที่นี่

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s