ประเพณีวัฒนธรรม

วิวาห์หวานบาบ๋า สุดปลายฟ้าอันดามัน


วันอาทิตย์ที่ผ่านมา ทาง ททท.ภูเก็ต ได้จัดงาน “วิวาห์หวานบาบ๋า สุดปลายฟ้าอันดามัน” โดยทำการจัดพิธีการแต่งงานแบบบาบ๋าให้คู่แต่งงานเพื่ อเป็นการร่วมอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีการแต่ งงาน บาบ๋าของชาวภูเก็ตอันดีงามไว้

ผมในฐานะคนภูเก็ต มีเชื่อสาย บาบ๋า 0.000001% อยากรู้ว่าพิธีการแต่งงานแบบบาบ๋าเขาทำกันอย่างไรเลย ไปเก็บภาพเล็กๆน้อยๆ มาฝากกัน ครั้งนี้ลอง Process ภาพแบบเก่าๆดูบ้าง.. ลองดูน่ะครับ


“อึ่มหลาง” (แม่สื่อ) ผู้ทำหน้าที่นี้จะต้องเป็นผู้มีวาทศิลป์ในการพูด โน้มน้าวจิตใจให้เกิดการยอมรับทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้อึ่มหลางถือว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทและมีความสำค ัญมากกว่าเป็นเพียงแค่ แม่สื่อเท่านั้น เพราะอึ๋มหลางนอกจากจะแนะนำสองครอบครัวให้รู้จักและย อมรับกันแล้ว อึ๋มหลางจะคอยสอนขนบธรรมเนียมประเพณีที่ถูกต้องในการ ปฏิบัติตน การจัดพิธี การรู้จักสัมมาคารวะ ไปจนกระทั่งแนะนำการครองเรือน


คู่บ่าวสาวแต่งกายแบบชุดแต่งงานของบาบ๋า”ภูเก็ต” เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และมีผู้คนหลากหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และหนึ่งในจำนวนกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ที่ภูเก็ตมีกลุ่ม คนจำนวนหนึ่งเรียกตัว เองว่าเป็น “บาบ๋า” (Baba) หรือ “เพอรานากัน”ก็ คือลูกผสมที่เกิดจากพ่อเป็นชาวจีนกับแม่ที่เป็นคนท้อ งถิ่น ชาวบาบ๋าที่ภูเก็ตมีการรวมกลุ่มกันอย่างดี และมีการสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามของกลุ่มคนบาบ ๋าไว้มากมาย

ประเพณีการแต่งงานของชาวบาบ๋า ถือ ว่าเป็นประเพณีการออกเรือนที่สืบทอดให้เห็นถึงวัฒนธร รมอันดีงามที่มีมา ตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งการแต่งงานของชาวบาบ๋ามีสิ่งที่สำคัญคือ การมีส่วนร่วมของครอบครัว การเคารพแก่ผู้อาวุโส ที่มีความหมายกว้างไปถึงผู้รู้จัก ผู้เคารพนับถือที่อยู่ร่วมในสังคมเดียวกันด้วย การแต่งงานบาบ๋าจึงไม่ใช่เรื่องส่วนตัวเฉพาะคู่บาวสา วเพียงสองคน แต่เป็นการประกาศและดำรงข้อผูกพันในสังคมบาบ๋า เพอรานากันด้วย

“ผ่างเต๋” คือการไหว้ญาติผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายด้วยการรินน้ำชาให้ ดื่มแล้วท่านรับไหว้ด้วยการมอบ “อั่งเปา” ซึ่งจะมีเงินหรือทองอยู่ในซองสีแดงนั้น

เจ้าสาว…….. น่ารักมั้ยคนนี้ อิอิ

พระเอกของเรา งานนี้

สถานที่จัดงาน

พิธีผางเต๋ คือการรับไหว้น้ำชาของชาวบาบ๋าสำหรับการจัดงานแต่งงา นของชาวบาบ๋า จะมีพิธีรีตองที่ค่อนข้างเยอะ คือมีการหาฤกษ์ยาม จัดเตรียมชุดแต่งงาน เครื่องประดับกาย ของไหว้ เครื่องประดับบ้านเรือน พิธีการต่างๆ ทั้งการไหว้ฟ้าดิน ขบวนแห่ ผ่างเต๋ (การรับไหว้น้ำชา) การเวียนสาดหมอน การชมห้องเจ้าสาว การเดินทางไปอนุญาต และขอพรต่อองค์พระสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ฯลฯ ถึงแม้ว่าการจัดงานแต่งแบบบาบ๋าของคนภูเก็ต จะมากด้วยความซับซ้อนในพิธีการ แต่ทุกสิ่งที่จัดขึ้นถือว่ามีความหมายที่ลึกซึ้งให้ค ุณค่าแก่ทุกคนที่มาร่วม งาน

ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต

“เสี่ยหนา” หรือ ตระกร้าสานด้วยไม้ทาสีแดงกับดำ ในการหมั้น ในเสี่ยหนามี ขนมหวาน ได้แก่ ขนมถั่ว ๑๒ ชิ้น และน้ำตาล (ถั่ว หมายถึง ความเจริญงอกงาม)(น้ำตาล หมายถึง ความหวาน)

6 replies »

  1. เยี่ยมไปเลยค่ะ ขอบคุณที่ช่วยกันส่งเสริม สืบสานประเพณีและวัฒนธรรมอันดีของชาวภูเก็ตนะคะ

    ภาพสวยข้อมูลดีค่ะ ^^

    ถูกใจ

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s