พอดีไปเจอบทความในเว็บผู้จัดการ (manager.co.th) เขาเขียนเกี่ยวกับคำว่า “ภูเก็จ” ว่ามีประวัติความเป็นมาเป็นอย่างไรทำไมถึงเขียนว่า “ภูเก็จ”
“คำว่า “ภูเก็จ” ที่ใช้ จ.จานสะกด แปลว่าภูเขาแก้ว แผ่นดินแก้ว หรือแผ่นดินเพชร หรืออะไรก็ได้ที่เป็นอัญมณี ที่ความหมายเป็นอย่างนั้นเพราะ ภู แปลว่าภูเขาหรือแผ่นดิน ส่วน เก็จ แปลว่าแก้วหรืออัญมณี ความหมายมันแปลได้อยู่สองนัย นัยแรก หมายถึงแผ่นดินที่มีเพชร อีกความหมาย หมายถึง แผ่นดินที่มีค่า แล้วถามว่าเพชรมีจริงไหม ก็มีจริงในประเทศไทยมีเพชรอยู่ 2 จังหวัด คือเพชรที่พังงาและที่ภูเก็ต
“แต่ยุคอย่างพวกเราเราจะเห็นภูเก็ต สะกดด้วย ต.เต่าเสมอ เมื่อเห็นคำว่า ภูเก็ต ต.เต่า ก็เข้าใจว่า ภูเก็ต ต.เต่าเป็นสิ่งที่เราใช้มาตลอด จนวันหนึ่งเราไปค้นหนังสือเอกสารทุกชิ้นของภูเก็ตสมัยก่อนรัชกาลที่ 5 มาใช้ภูเก็จ สะกดด้วย จ.จานทั้งสิ้น เราก็กล่าวหาคนโบราณว่าทำไมไม่มีโรงเรียนหรือไงเขียนผิดกันจัง แต่ในที่สุดเราก็ทราบว่าเขาใช้ จ.จาน สะกดมาโดยตลอด”
นี่เป็นคำพูดส่วนหนึ่งของบทความในเว็บไซต์ ลองไปหาอ่านดูบทความเต็มๆที่ http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9520000120890
ภาพจากเว็บ ผู้จัดการ manager.co.th
หมวดหมู่:มีสาระ
ผมไม่เคยรู้มาก่อนเหมือนกันว่า ก่อนนี้เป็นตัวจ.จานสะกด
ถูกใจถูกใจ